เครื่องอ่านบาร์โค้ด เป็นอุปกรณ์ที่ทำการแปลงข้อมูลจากรหัสบาร์โค้ดเป็นสัญญาณดิจิตอล จากนั้นนำสัญญาณดิจิตอลที่ได้มาแปลเป็นข้อมูลด้วยการถอดรหัส (decoding) ให้เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ถูกบรรจุอยู่ในข้อมูลนั้นๆ โดยการทำงานของ เครื่องอ่านบาร์โค้ด จะทำหน้าที่ในการผลิตลำแสงซึ่งดูดซึมส่วนที่เป็นแท่งดำทึบ และสะท้อนส่วนที่เป็นช่องว่างระหว่างแท่งสัญญาณที่สะท้อนขึ้นจะแปลงเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ โดยตัวถอดรหัส (decoder) ซึ่งอาจจะติดไว้ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ด หรือแยกกันกับเครื่องก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของลักษณะงานเครื่องอ่านบาร์โค้ด จำแนกออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบสัมผัส และ เครื่องอ่านบาร์โค้ดไม่สัมผัส และยังสามารถแยกประเภทตามลักษณะการเคลื่อนย้ายได้ โดยแบ่งกลุ่มเป็น เครื่องอ่านบาร์โค้ด

          เครื่องอ่านบาร์โค้ด เป็นอุปกรณ์ที่ทำการแปลงข้อมูลจากรหัสบาร์โค้ดเป็นสัญญาณดิจิตอล จากนั้นนำสัญญาณดิจิตอลที่ได้มาแปลเป็นข้อมูลด้วยการถอดรหัส (decoding) ให้เป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ถูกบรรจุอยู่ในข้อมูลนั้นๆ โดยการทำงานของ เครื่องอ่านบาร์โค้ด จะทำหน้าที่ในการผลิตลำแสงซึ่งดูดซึมส่วนที่เป็นแท่งดำทึบ และสะท้อนส่วนที่เป็นช่องว่างระหว่างแท่งสัญญาณที่สะท้อนขึ้นจะแปลงเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ โดยตัวถอดรหัส (decoder) ซึ่งอาจจะติดไว้ภายในเครื่องอ่านบาร์โค้ด หรือแยกกันกับเครื่องก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของลักษณะงานเครื่องอ่านบาร์โค้ด จำแนกออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบสัมผัส และ เครื่องอ่านบาร์โค้ดไม่สัมผัส และยังสามารถแยกประเภทตามลักษณะการเคลื่อนย้ายได้ โดยแบ่งกลุ่มเป็น เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเคลื่อนย้ายได้(Portable) และ เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบยึดติดกับที่ (Fixed Positioning Scanners)

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable)

          เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ ส่วนมากจะมีหน่วยความจำในตัวเอง เพื่อเก็บข้อมูลที่อ่านหรือบันทึกด้วยปุ่มกดสามารถนำอุปกรณ์ไปใช้ได้ง่ายโดยสามารถพกพาได้ การอ่านรหัสแต่ละครั้งจะนำเอาเครื่องอ่านเข้าไปยังตำแหน่งที่สินค้าอยู่ ส่วนมากเครื่องอ่านลักษณะนี้จะมีน้ำหนักเบา ส่วนแบบที่ไม่มีหน่วยความจำในตัวเองจะทำงานแบบไร้สายเหมือนโทรศัพท์ไร้สายที่ใช้ภายในบ้านซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง

เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบยึดติดกับที่ (Fixed Positioning Scanners)

          เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ส่วนมากจะติดตั้งกับด้านข้าง หรือตำแหน่งใดๆ ที่เหมาะสมในแนวทางวิ่งของสายพานลำเลียง เพื่ออ่านรหัสที่ติดกับบรรจุภัณฑ์และเคลื่อนที่ผ่านไปตามระบบสายพานลำเลียง บางครั้งเครื่องอ่านประเภทนี้จะติดตั้งภายในอุปกรณ์ของระบบสายพานลำเลียง เพื่อให้สามารถอ่านได้โดยอัตโนมัติ อีกรูปแบบที่เราเห็นกันมาก จะฝังอยู่ที่โต๊ะแคชเชียร์ ตามห้างสรรพสินค้า โดยแคชเชียร์จะนำสินค้าด้านที่มีบาร์โค้ดมาจ่อหนาเครื่องอ่านที่ถูกฝังไว้กับโต๊ะ หรือตั้งไว้ด้านข้าง เครื่องอ่านจะทำการอ่านบาร์โค้ดโดยอัตโนมัติ เมื่อมีวัตถุเคลื่อนไหวอยู่ข้างหน้าตัวเครื่อง

          เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่มีหลายรูปแบบจากแบบง่ายๆ ที่ลักษณะคล้ายปีนที่เห็นตามร้านค้าปลีก จนถึงระบบแบบ Pocket PC สามารถอ่านโดยห่างจากรหัสแท่งได้ ไม่ต้องจ่อใกล้ๆ ทำให้ทำงานได้รวดเร็ว ง่ายและสะดวก โดยแบ่งเป็นหลายชนิดดังนี้

         

           เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ CCD (Charge Coupled Device Scanner) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ เป็นเครื่องอ่านราคาถูก การทำงานจะอาศัยการสะท้อนของแสงจากรหัสแท่งและช่องว่าง เครื่องอ่านแบบนี้ในขณะอ่านจะไม่มีการเคลื่อนที่ชิ้นส่วน ความทนทานจะดีกว่าแบบเลเซอร์ ใช้พลังงานน้อย อายุการใช้งานของอุปกรณ์ในการสร้างลำแสง (LED) จะยาวนานกว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบนี้ยังเป็นแบบตัดวงจรไฟอัตโนมัติในกรณีที่ไม่มีการใช้งาน

          เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบ Linear Imaging เครื่องอ่านบาร์โค้ด ประเภทนี้ เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่ใช้หลักการอ่านโดยวิธีจับภาพโดยเลนซ์รับภาพเช่นเดียวกับกล้องถ่ายรูป ทำให้ระบบหัวอ่านมีความสามารถในการอ่านในเชิงเรขาคณิตสูงกว่าเครื่องอ่านแบบ CCD สามารถอ่านบาร์โค้ดขนาดเล็กมากๆได้ เนื่องจากใช้การอ่านด้วยตัวเลนซ์รับภาพทำให้จับภาพได้ระยะไกลขึ้น อ่านได้เร็วถึง 100-450 ครั้งต่อวินาที ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบ Linear Imaging มีความสามารถในการอ่านและความเร็วในการอ่านเหนือว่าการอ่านแบบ CCD แต่มีความทนทานเหมือนกัน และอ่านในระยะไกลได้เทียบเท่ามาตรฐานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์

          เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ ( Laser Scanner) เครื่องอ่านบาร์โค้ด ชนิดนี้มีวิธีการทำงาน คือเมื่อกดปุ่มอ่านรหัสจะเกิดลำแสงเลเซอร์ซึ่งมีกระจกเงาเคลื่อนที่มารับแสงแล้วสะท้อนไปตกกระทบกับรหัส และผ่านเป็นแนวเส้นตรงเพียงครั้งเดียว ลำแสงที่ยิงออกมาจะมีขนาดเล็กด้วยความถี่เดียว ไม่กระจายออกไปนอกเขตที่ต้องการทำให้สามารถอ่านรหัสที่มีขนาดเล็กได้ดี

สามารถแบ่งเครื่องอ่านเลเซอร์ตามประเภทของการอ่านได้ดังนี้
o ( Single Line laser Scanner)เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดเส้นเดี่ยว
o ( Multiple Line Laser Scanner)เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดหลายเส้น
เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้น (Raster) เหมาะสำหรับการอ่านบาร์โค้ดแบบติดตั้งอยู่กับที่โดยอ่านบาร์โค้ดที่กล่องซึ่งมีตำแหน่งบาร์โค้ดไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน โดยทั่วไปเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบนี้จะมี เส้นเลเซอร์ตั้งแต่ 2-10 เส้น เป็นแสงเลเซอร์ในแนวขนานกัน

          

           เครื่องอ่านบาร์โค้ดแบบเลเซอร์ชนิดอ่านหลายเส้นหลายทิศทาง (Omni-Direction) เป็นแสงเลเซอร์ มากกว่า 10 เส้นอยู่ในแนวขนานและตัดกันไปมาเหมือนตาข่ายทำให้สามารถอ่านบาร์โค้ดได้หลายทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอ่านชนิดใด หลักการอ่านก็คือ ลำแสงของเครื่องอ่านต้องครอบคลุมเส้นบาร์โค้ดทุกเส้น ระยะห่างระหว่างหัวอ่านกับบาร์โค้ด ใกล้หรือไกล มี 2 ปัจจัยคือ ขนาดของบาร์โค้ด และประสิทธิภาพของเครื่องอ่าน เปรียบเหมือนสายตาคนเรา ถ้าตัวอักษรเล็กๆ เราก็ต้องเข้าไปใกล้จึงจะเห็นชัดและอ่านได้ ในขณะที่คนสายตายาวก็จะอ่านตัวอักษรขนาดเดียวกันได้ไกลกว่าคนสายตาปกติ

Scroll to top